ภาพรวมหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ เปิดสอนในคณะนิติศาสตร์ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2540 โดยมีวัตถุประสงค์ให้ความรู้ทางนิติศาสตร์ในเชิงสหสาขาวิชาโดยเชื่อมโยงกับมิติทางเศรษฐกิจกับธุรกิจในประเด็นสำคัญในการประกอบธุรกิจ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับธุรกิจ การจัดตั้งองค์กรธุรกิจ การเจรจาต่อรอง กฎหมายการตลาดและแรงงาน กฎหมายเกี่ยวกับการเงินและภาษีประเภทต่าง ๆ ตลอดจนมิติในทางระหว่างประเทศ เช่น การค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ระบบการค้าเสรีในกรอบต่าง ๆ เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ซึ่งความรู้ในเชิงสหสาขาในประเด็นดังกล่าวมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างความรู้ความเข้าใจสำหรับผู้ประกอบการและนักธุรกิจเพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจในเชิงธุรกิจที่มีประเด็นในข้อกฎหมายเพื่อให้เข้าใจเงื่อนไขและโอกาสในทางธุรกิจ ดังนั้น การจัดการศึกษาในลักษณะบูรณาการของหลักสูตรที่ผู้สอนมุ่งเน้นผู้เรียนให้เข้าใจความเชื่อมโยงระหว่างกฎหมายกับเศรษฐกิจและธุรกิจในลักษณะสหสัมพันธ์โดยให้น้ำหนักการเรียนรู้ในเชิงปฏิบัติ แต่ขณะเดียวกันก็ยังเน้นย้ำหลักการของกฎหมายที่ถูกต้องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการสร้างบุคลากรที่วิสัยทัศน์กว้างและเป็นการพัฒนาวิชาการตลอดจนสร้างโอกาสในทางธุรกิจสอดคล้องกับสภาพความเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันได้
ตั้งแต่เปิดหลักสูตรฯ ในปีการศึกษา 2540 จนถึงปัจจุบัน หลักสูตรฯ ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบธุรกิจในระดับต่าง ๆ และบุคลากรจากภาครัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรู้กฎหมายที่ได้รับไปนั้นสามารถนำไปใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมามีมิติในทางกฎหมายในหลายประเด็นที่มีความชัดเจนและเนื้อหาในองค์ความรู้ที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น ตลอดจนความต้องการสร้างความรู้พิเศษเฉพาะทางมีมากขึ้นเป็นลำดับตามพลวัฒน์ของสังคม ดังนั้นเพื่อให้รองรับความเปลี่ยนแปลงและความจำเป็นทางวิชาการ ตลอดจนเปิดโอกาส ทางเลือกในการสร้างความเชี่ยวชาญตามความประสงค์ของผู้เข้ารับการศึกษา โดยมี 2 ทางเลือก ดังนี้
- หมวดวิชากฎหมายธุรกิจทั่วไป
- หมวดวิชาภาษีอากร
ตัวอย่างวิชาในหลักสูตร
วิชา | อาจารย์ผู้สอน | เนื้อหา |
---|---|---|
กฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศ | ศ.(พิเศษ) อธึก อัศวานันท์ ศ.(พิเศษ) สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล | ขอบเขตธุรกิจระหว่างประเทศ ที่มาของกฎหมายที่ใช้บังคับแก่ธุรกิจระหว่างประเทศ ข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจ กฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างประเทศโดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต การค้าระหว่างประเทศ การบริการระหว่างประเทศ การกู้ยืมระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการเข้าเมืองและการทำงานระหว่างประเทศ กฎหมายเกี่ยวกับการปริวรรตเงินตรา สัญญาและการร่างสัญญาในธุรกรรมระหว่างประเทศ |
กฎหมายเกี่ยวกับการวางแผนธุรกิจ | ศ.(พิเศษ) กิติพงศ์ อุรพีพัฒนพงศ์ อ.นรรัตน์ ลิ่มนรรัตน์ | หลักการวางแผนธุรกิจโดยศึกษาเชิงผสมผสานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายหุ้นส่วนบริษัท กฎหมายบริษัทมหาชน จำกัด กฎหมายภาษีอากร และหลักการบัญชี โดยเน้นองค์กรทางธุรกิจที่อยู่ในรูปของบริษัทเอกชน การตัดสินใจอย่างเป็นระบบโดยใช้เครื่องมือทางกฎหมายต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นในการเลือกรูปแบบขององค์กรทางธุรกิจ การใช้กลไกทางการเงินและข้อบังคับของบริษัทเป็นเครื่องมือควบคุมการบริหารธุรกิจของผู้บริหาร การรวมธุรกิจของสองบริษัทเข้าด้วยกันโดยการควบบริษัท การซื้อหุ้นของบริษัทอื่น การเลิกบริษัท |
การวางแผนภาษีอากรทางธุรกิจ | ศ.(พิเศษ) พิภพ วีระพงษ์ อ.ชินวัฒน์ อัศวโภคี | หลักการวางแผนภาษีอากรทางธุรกิจ การวางแผนภาษีอากรทางธุรกิจโดยเน้นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรข้อพิจารณาทางภาษีอากรในการเลือกรูปแบบและการจัดตั้งองค์การธุรกิจ การรวมกิจการ และการวางนโยบายบัญชีของธุรกิจ ภาระภาษีอากรในการลงทุนทางการเงินและการทำธุรกรรมบางประเภท |
วิชา | อาจารย์ผู้สอน | เนื้อหา |
---|---|---|
กฎหมายเกี่ยวกับการเงินธุรกิจ | ศ.(พิเศษ) ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์ อ.ดำรงศักดิ์ ณ ระนอง อ.ทินวัฒน์ พุกกะมาน |
โครงสร้างทางการเงินขององค์กรธุรกิจ การเสนอและการจำหน่ายหุ้นอันเป็นทุนจดทะเบียนของบริษัท การออกและเสนอขายหุ้นต่อประชาชน การจดทะเบียนหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ การเพิ่มและการลดทุน การจ่ายเงินปันผล กฎหมายเกี่ยวกับการกู้ยืมเงินและหลักประกัน การเจรจาต่อรองและการร่างสัญญาเงินกู้และการจัดหลักประกัน |
ภาษีอากรและธุรกิจระหว่างประเทศ | ศ.(พิเศษ) ดร.พล ธีรคุปต์ ศ.(พิเศษ) พิภพ วีระพงษ์ |
ความซ้ำซ้อนในอำนาจการจัดเก็บภาษีของรัฐแต่ละรัฐ ความพยายามของรัฐในการขจัดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บภาษีระหว่างรัฐ รูปแบบของอนุสัญญาและหรือข้อตกลงการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างรัฐ ประมวลรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับเก็บภาษีจากธุรกิจระหว่างประเทศ หลักการสำคัญของอนุสัญญา หรือข้อตกลงการเว้นการเก็บภาษีซ้อนระหว่างประเทศไทยกับต่างประเทศ |
โครงสร้างหลักสูตรสำหรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2563
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน (36 หน่วยกิต)
- วิชาบังคับทุกหมวด 12 หน่วยกิต
- วิชาบังคับเฉพาะหมวด 15 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี (หรือวิชาบังคับเฉพาะหมวดของหมวดอื่น) 9 หน่วยกิต
- วิชาเอกัตศึกษาทางกฎหมายเศรษฐกิจและธุรกิจ 3 หน่วยกิต
นิสิตที่ศึกษาในหลักสูตรจะต้องสอบผ่านรายวิชา และสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) จึงจะสำเร็จการศึกษา
การจัดการศึกษา
หลักสูตรฯ มีระยะเวลาการศึกษา 1 ปี ครึ่ง แต่ไม่เกิน 4 ปี นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษา
โครงสร้างหลักสูตรสำหรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2558
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน (36 หน่วยกิต)
- วิชาบังคับทุกหมวด 12 หน่วยกิต
- วิชาบังคับเฉพาะหมวด 15 หน่วยกิต
- วิชาเลือกเสรี (หรือวิชาบังคับเฉพาะหมวดของหมวดอื่น) 9 หน่วยกิต
- วิชาเอกัตศึกษาทางกฎหมายเศรษฐกิจและธุรกิจ 3 หน่วยกิต
นิสิตที่ศึกษาในหลักสูตรจะต้องสอบผ่านรายวิชา และสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) จึงจะสำเร็จการศึกษา
การจัดการศึกษา
หลักสูตรฯ มีระยะเวลาการศึกษา 2 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 4 ปีการศึกษานับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษา
ข้อมูลทั่วไป
- 1 ปีการศึกษา : แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา
- ประมาณเดือนกรกฎาคมของทุกปี
ภาคการศึกษาต้น
- การลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาต้นที่เว็บไซต์ www.reg.chula.ac.th ตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย
- ชำระค่าเล่าเรียน ผ่าน CU NEX Application ตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย
- การจัดการเรียนการสอนภาคการศึกษาต้น ระหว่างเดือนสิงหาคม – พฤศจิกายน
- สอบปลายภาค (ภาคการศึกษาต้น) ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี
ภาคการศึกษาปลาย
- การลงทะเบียนเรียนภาคการศึกษาปลายที่เว็บไซต์ www.reg.chula.ac.th ตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย
- ชำระค่าเล่าเรียน ผ่าน CU NEX Application ตามกำหนดการของมหาวิทยาลัย
- การจัดการเรียนการสอน ภาคการศึกษาปลาย ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม
- สอบปลายภาค (ภาคการศึกษาปลาย) ประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี
เวลาเรียน วันจันทร์ – วันเสาร์
- วันจันทร์ – วันศุกร์ : เวลา 17.30 – 20.30 น.
- วันเสาร์ : เวลา 09.00 – 16.00 น.
การสมัครและแนวทางการคัดเลือก (How to Apply)
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร
- สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญาตรีสาขาใดสาขาหนึ่ง
- กรณีสำเร็จการศึกษาด้านนิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ บริหารธุรกิจ และบัญชี ต้องมีประสบการณ์การทำงานในสาขาที่สำเร็จไม่น้อยกว่า 3 ปี (นับถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567)
- กรณีสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชาอื่น ต้องมีประสบการณ์ในการทำงานไม่น้อยกว่า 4 ปี (นับถึง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2567)
- กรณีผู้สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต ไม่ต้องมีประสบการณ์ทำงาน
- ผู้เข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จะศึกษาเกินกว่า 1 สาขาวิชาในเวลาเดียวกันมิได้
- ผ่านการคัดเลือกตามวิธีการที่หลักสูตรกำหนด
- ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
- มีคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป ก่อนลงทะเบียนเข้าสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ ผลคะแนนต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันรายงานผลคะแนนการทดสอบจนถึงวันประกาศผลการคัดเลือก ในการสำเร็จการศึกษา นิสิตต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 45 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป หรือสอบผ่านรายวิชาภาษาอังกฤษตามที่ มหาวิทยาลัยกำหนดจึงจะสำเร็จการศึกษาได้
จำนวนที่คาดว่าจะรับ ปีการศึกษา 2567
- จำนวน 80 คน
วิธีการคัดเลือก
- พิจารณาจากการสอบข้อเขียนและสอบสัมภาษณ์
ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา
- ค่าใช้จ่ายที่นิสิตต้องชำระ ประมาณ 74,500 บาท / ภาคการศึกษา
ระยะเวลาการสมัคร
- เปิดรับสมัครระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม ของทุกปี ** คลิกสมัคร **
วิธีการสมัคร
การยื่นใบสมัครทำได้ 3 ช่องทาง ดังนี้
- ช่องทางที่ 1 สมัครออนไลน์ ที่ https://law.chula-regist.com/
- ช่องทางที่ 2 สมัครด้วยตนเอง ผู้สมัครนำใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วนและพิมพ์ (Print) จากระบบออนไลน์พร้อมเอกสารประกอบการสมัครมายื่นทีสำนักงานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจในวันและเวลาทำการ (จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 – 20.00 น. และเสาร์เวลา 09.00 – 16.00 น.)
- ช่องทางที่ 3 สมัครทางไปรษณีย์ ผู้สมัครส่งใบสมัครที่กรอกข้อมูลครบถ้วนและพิมพ์ (print) จากระบบออนไลน์ พร้อมเอกสารประกอบการสมัคร ทางไปรษณีย์มาที่ : สำนักงานหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 ภายในกำหนดการรับสมัคร (โดยจะถือเอาวันที่ประทับตรา ณ ไปรษณีย์ต้นทางเป็นวันยื่นใบสมัคร)
ค่าธรรมเนียมการสมัคร
- 850 บาท
บุคลากรประจำหลักสูตร
ผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริกัญญา โฆวิไลกูล
รองผู้อำนวยการหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิสา งามอภิชน
เจ้าหน้าที่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ
- นางวัชรี พรหมประดิษฐ์ โทรศัพท์ 02-218-2061
- นางสาวน้ำเพชร ศรีละออ โทรศัพท์ 02-218-2078
ติดต่อหลักสูตร
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ
โทร: 095-3676127, 02-218-2017 ต่อ 528 (กรณีคณะนิติศาสตร์เปิดทำการ)
อีเมล: ma-econ@law.chula.ac.th
ข้อมูลนิสิตเก่า
สุรพล โอภาสเสถียร
ศศ.ม. รุ่น 1
ผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (เครดิตบูโร)
วรัษยา พันธุศักดิ์
ศศ.ม. รุ่น 12
ประธานฝ่ายการเงิน กลุ่มบริษัททิฟฟานี่โชว์ พัทยา
วิศัลย์ ธนะศักดิ์ศรีสกุล
ศศ.ม. รุ่น 18
ประธานกรรมการบริหาร บริษัทวาริกซ์ สปอร์ต จำกัด