ภาพรวมหลักสูตร
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์เปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2512 โดยรับสมัครผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญานิติศาสตรบัณฑิตเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับมหาบัณฑิต ทั้งนี้ หลักสูตรฯ ได้มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญเฉพาะในแต่ละสาขาวิชา ซึ่งประกอบไปด้วย 4 สาขาวิชากฎหมายหลัก อันได้แก่ กฎหมายเอกชนและธุรกิจ กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กฎหมายมหาชน และกฎหมายระหว่างประเทศ
ในแต่ละปีการศึกษา หลักสูตรฯ จะเปิดรับสมัครและทำการคัดเลือกผู้ที่มีสิทธิเข้าศึกษาประมาณปีละ 100 คน ทั้งนี้มีผู้ที่สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิตจากทั่วประเทศให้ความสนใจและสมัครเข้าศึกษา ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ทำงานแล้วทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน รวมถึงนิสิตนักศึกษาที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา ด้วยเหตุดังกล่าว ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกให้เข้าศึกษาจึงมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้และมิตรภาพที่ดีระหว่างกัน
โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร
เพื่อให้การศึกษาในระดับมหาบัณฑิตมีคุณภาพและมาตรฐานทางวิชาการอันเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป หลักสูตรฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของคัดเลือกอาจารย์และผู้ทรงวุฒิที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญทั้งในทางวิชาการและทางปฏิบัติเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน โดยมุ่งหวังให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์และความรู้สูงสุดจากคณาจารย์ประจำ อาจารย์พิเศษ วิทยากร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิและเป็นที่ยอมรับในวงการนิติศาสตร์ อาทิเช่น อดีตประธานศาลฎีกา ผู้พิพากษา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลปกครอง อดีตอัยการสูงสุด รวมถึงที่ปรึกษากฎหมายระดับแนวหน้าของประเทศจากสำนักงานกฎหมายที่มีชื่อเสียงต่าง ๆ
ปัจจุบัน หลักสูตรฯ ได้ผลิตมหาบัณฑิตกว่า 2,000 คน โดยมหาบัณฑิตเหล่านี้ได้นำความรู้ ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียนการสอนไปใช้ในการพัฒนาประเทศชาติและรับใช้สังคมในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาควิสาหกิจ รวมถึงภาคเอกชน อาทิ ผู้พิพากษา พนักงานอัยการ ตุลาการ ข้าราชการ อาจารย์ นิติกร ทนายความ เป็นต้น
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต แบ่งเป็น
แผน ก2 (วิทยานิพนธ์)
- รายวิชาบังคับทุกหมวดวิชา 6 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับเฉพาะหมวดวิชา 9 หน่วยกิต
- รายวิชาเลือกเฉพาะหมวดวิชา 9 หน่วยกิต
- รายวิชาเลือกเสรี 3 หน่วยกิต
- จำนวนหน่วยวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
แผน ข (เอกัตศึกษา)
- รายวิชาบังคับทุกหมวดวิชา 6 หน่วยกิต
- รายวิชาบังคับเฉพาะหมวดวิชา 12 หน่วยกิต
- รายวิชาเลือกเฉพาะหมวดวิชา 9 หน่วยกิต
- รายวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต
- จำนวนหน่วยการค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
การจัดการศึกษา
ระยะเวลาการศึกษา
หลักสูตรฯ มีระยะเวลาการศึกษา 2 ปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 4 ปีการศึกษานับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษา
1 ปีการศึกษา : แบ่งเป็น 2 ภาคการศึกษา
ประมาณเดือนกรกฎาคมของทุกปี | ลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาต้น ที่เว็บไซต์ www.reg.chula.ac.th ชำระค่าเล่าเรียน ผ่าน CU NEX Application |
ระหว่างเดือนสิงหาคม – ธันวาคมของทุกปี | การจัดการเรียนการสอน ภาคการศึกษาต้น สอบปลายภาค (ภาคการศึกษาต้น) |
ประมาณเดือนพฤศจิกายนของทุกปี | ลงทะเบียนเรียน ภาคการศึกษาปลายที่เว็บไซต์ www.reg.chula.ac.th ชำระค่าเล่าเรียน ผ่าน CU NEX Application |
ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคมของทุกปี | การจัดการเรียนการสอน ภาคการศึกษาปลาย สอบปลายภาค (ภาคการศึกษาปลาย) |
เวลาเรียน วันจันทร์ – วันเสาร์
- วันจันทร์ – วันศุกร์ : เวลา 17.00 – 20.00 น.
- วันเสาร์ : เวลา 09.00 – 16.00 น.
การสมัครและแนวทางการคัดเลือก (How to Apply)
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร
- สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญานิติศาสตรบัณฑิต
- ผ่านการคัดเลือกตามวิธีการที่หลักสูตรกำหนด
- ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง
- ผู้เข้าศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จะศึกษาเกินกว่า 1 สาขาวิชาในเวลาเดียวกันมิได้
- ผู้เข้าศึกษาต้องผ่านเกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษในวันลงทะเบียนแรกเข้า ดังต่อไปนี้
- มีคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 3.0 ขึ้นไป ก่อนลงทะเบียนเข้าสอบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ ผลคะแนนต้องมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับจากวันรายงานผลคะแนนการทดสอบจนถึงวันประกาศผลการคัดเลือก
- การสำเร็จการศึกษา นิสิตต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 45 ขึ้นไป หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450 ขึ้นไป หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 ขึ้นไป หรือสอบผ่านรายวิชาภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยกำหนดด้วยจึงจะสำเร็จการศึกษาได้
จำนวนที่คาดว่าจะรับ ปีการศึกษา 2567 จำนวนทั้งสิ้น 145 คน โดยแบ่งเป็น
- แผน ก2 (วิทยานิพนธ์) จำนวน 49 คน
- แผน ข (เอกัตศึกษา) จำนวน 96 คน
วิธีการคัดเลือก
- สอบข้อเขียน
- สัมภาษณ์
ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา
- ค่าใช้จ่ายที่นิสิตต้องชำระ ประมาณ 40,500 บาท / ภาคการศึกษา
ทุนอุดหนุนการศึกษา
- ทุนอุดหนุนการศึกษา ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.grad.chula.ac.th หรือ โทร.0-2218-3502-4
- ทุนของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ทุนนิสิตช่วยงาน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
ระยะเวลารับสมัคร
- เปิดรับสมัครระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี ** คลิกสมัคร **
วิธีการสมัคร (สามารถทำได้ 3 ช่องทาง)
- ยื่นใบสมัครทาง Online ที่ www.law.chula-regist.com
- ยื่นใบสมัครด้วยตนเองที่หลักสูตรฯ
- ยื่นใบสมัครทางไปรษณีย์
บุคลากรประจำหลักสูตร
ผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวัฒน์ สัตยานุรักษ์
รองผู้อำนวยการหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
- อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
เจ้าหน้าที่หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
- นายบำรุง ถนอมเชื้อ โทรศัพท์ 02-218-2064
- นางพิริยาภรณ์ คำมอนมาย โทรศัพท์ 02-218-2058
- นางสาวกนกกร ป้อมปลั่ง โทรศัพท์ 02-218-2021
ติตต่อหน่วยงาน
สำนักงานหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชานิติศาสตร์)
- อีเมล llm-thai@law.chula.ac.th
- โทร. 095-3676129
นิสิตเก่า
ศาสตราจารย์พิเศษ เรวัติ ฉ่ำเฉลิม
อดีตอัยการสูงสุด
นายอัครพันธ์ สัปปพันธ์
ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นประจำสำนักประธานศาลฎีกา
นางทิพาพันธ์ รัตนพิทักษ์
ตุลาการศาลปกครองกลาง
นายสมพร เหลี่ยมป้อ
Senior Associate
นางสาวโสมนัส เจือศรีกุล
DIRECTOR OF TIJ ACADEMY, THAILAND INSTITUTE OF JUSTICE”
นางสาวภิญญดา ไรนิเกอร์
นักการทูตปฏิบัติการ กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ