ภาพรวมหลักสูตร

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายการเงินและภาษีอากร เป็นหลักสูตรที่ตั้งเมื่อปี 2552 เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจเฉพาะด้านเข้าสู่ตลาดงานด้านกฎหมาย ได้แก่ การเงิน หลักทรัพย์ และภาษีอากร โดยผู้เรียนจะได้รับความรู้ทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว รวมถึงภาพรวมโครงสร้างธุรกิจ ธุรกรรมรูปแบบต่างๆ ในทางธุรกิจ จากคณาจารย์ และผู้ปฏิบัติงาน (Practitioners) ที่มีความเชี่ยวชาญกฎหมายเฉพาะทาง เพื่อให้นิสิตมีความเข้าใจและลงมือปฏิบัติได้จริง

หลักสูตรเปิดรับนิสิตจบปริญญาตรี นิติศาสตร์ ทุกสาขาที่มีความสนใจกฎหมายการเงิน หลักทรัพย์ และภาษีอากร โดยบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย เช่น ที่ปรึกษากฎหมายเอกชน นักกฎหมายในหน่วยงานกำกับดูแลและในหน่วยงานรัฐ ผู้พิพากษา อัยการ อาจารย์ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านกฎหมายการเงิน หลักทรัพย์ หรือภาษีอากร

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตร 2 ปี ปีละ 2 ภาคการศึกษา
เลือกจาก 2 หมวดวิชา กฎหมายการเงินและหลักทรัพย์
กฎหมายภาษีอากร
เลือกจาก 2 แผนการศึกษา แผน ก – วิทยานิพนธ์
แผน ข – เอกัตศึกษา
ลงทะเบียนเรียน 39 หน่วยกิต วิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
วิชาเฉพาะหมวด แผน ก – 15 หน่วยกิต
แผน ข – 18 หน่วยกิต
วิชาเลือก (แผน ข) 3 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ (แผน ก) 12 หน่วยกิต
เอกัตศึกษา (แผน ข) 6 หน่วยกิต
ปี ช่วงเวลาเรียน หน่วยกิต วิชาเรียน
1 ภาคต้น (สิงหาคม – ธันวาคม)
ภาคปลาย (มกราคม – พฤษภาคม)
18 หน่วยกิต ภาคต้น วิชาบังคับ
ภาคปลาย วิชาเฉพาะหมวด
2 21 หน่วยกิต ภาคต้น วิชาเฉพาะหมวด
วิชาเลือก
ภาคปลาย วิทยานิพนธ์
เอกัตศึกษา

ตัวอย่างวิชาในหลักสูตร

วิชา อาจารย์ผู้บรรยาย เนื้อหา
การเจรจาต่อรองและการร่างสัญญา ศ.(พิเศษ) อธึก อัศวานันท์ หลักการเจรจาต่อรองและการร่างสัญญาทางธุรกิจ หลักการ กระบวนการ การวางแผน การเตรียมประเด็นและทักษะการเจรจาต่อรอง การร่างสัญญาสำคัญทางธุรกิจ สถานการณ์จำลองในการเจรจาต่อรองและการร่างสัญญาทางธุรกิจ
คุณวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ
สัมมนากฎหมายภาษีอากร รศ.ธิติพันธุ์ เชื้อบุญชัย การนำเสนอ วิเคราะห์ และอภิปรายประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับกฎหมายภาษีอากร
ศ.(พิเศษ) พิภพ วีระพงษ์
กฎหมายเกี่ยวกับการเงินธุรกิจ คุณพิชา ดำรงพิวัฒน์ หลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการวางโครงสร้างเงินทุนขององค์กรธุรกิจ ลักษณะของหุ้นสามัญ หุ้นบริสุทธิ์ หุ้นกู้และทุนเงินกู้ประเภทต่างๆ วิธีการระดมเงินทุนขององค์กรธุรกิจในลักษณะต่างๆ หลักเกณฑ์ทางกฎหมายเกี่ยวกับการคำนวณรายได้และกำไร และการจ่ายเงินปันผล

โครงสร้างและเนื้อหาหลักสูตร (Curriculum)

นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายการเงินและภาษีอากร

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายการเงินและภาษีอากร เป็นหลักสูตรที่ตั้งเมื่อปี 2552 เพื่อสร้างบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมายธุรกิจเฉพาะด้านเข้าสู่ตลาดงานด้านกฎหมาย ได้แก่ การเงิน หลักทรัพย์ และภาษีอากร โดยผู้เรียนจะได้รับความรู้ทั้งในด้านวิชาการและการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายดังกล่าว รวมถึงภาพรวมโครงสร้างธุรกิจ ธุรกรรมรูปแบบต่างๆ ในทางธุรกิจ จากคณาจารย์ และผู้ปฏิบัติงาน (Practitioners) ที่มีความเชี่ยวชาญกฎหมายเฉพาะทาง เพื่อให้นิสิตมีความเข้าใจและลงมือปฏิบัติได้จริง

ในแต่ละปีการศึกษาหลักสูตรจะเปิดรับนิสิตจบปริญญาตรี นิติศาสตร์ ทุกสาขาที่มีความสนใจกฎหมายการเงิน หลักทรัพย์ และภาษีอากร โดยบัณฑิตที่จบจากหลักสูตรสามารถปฏิบัติงานได้หลากหลาย เช่น ที่ปรึกษากฎหมายเอกชน นักกฎหมายในหน่วยงานกำกับดูแลและในหน่วยงานรัฐ ผู้พิพากษา อัยการ อาจารย์ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในด้านกฎหมายการเงิน หลักทรัพย์ หรือภาษีอากร

แผนการศึกษาและหมวดวิชา

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายการเงินและภาษีอากร แบ่งออกเป็น 2 แผนการศึกษา ดังนี้

  • แผน ก2 (วิทยานิพนธ์)
  • แผน ข (เอกัตศึกษา)

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายการเงินและภาษีอากรแบ่งออกเป็น 2 หมวดวิชา ดังนี้

  • กฎหมายการเงินและหลักทรัพย์
  • กฎหมายภาษีอากร

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 39 หน่วยกิต

แผน ก. (วิทยานิพนธ์)แผน ข. (เอกัตศึกษา)
จำนวนหน่วยกิตเรียนรายวิชา
รายวิชาบังคับทุกหมวดวิชา
รายวิชาบังคับเฉพาะหมวด
รายวิชาเลือก
27
12
15
33
12
18
3
วิทยานิพนธ์ 12
เอกัตศึกษา 6
จำนวนหน่วยกิตลอดหลักสูตร 39 39

ระยะเวลาการศึกษา

หลักสูตร 2 ปี มีระยะเวลาการศึกษา 2 ภาคการศึกษาต่อปีการศึกษา แต่ไม่เกิน 4 ปีการศึกษานับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษา

ภาคการศึกษาต้น

  • ลงทะเบียนเรียนช่วงเดือนกรกฎาคม
  • ระหว่างเดือนสิงหาคม – ธันวาคม โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

ภาคการศึกษาปลาย

  • ลงทะเบียนเรียนช่วงเดือนพฤศจิกายน
  • ระหว่างเดือนมกราคม – พฤษภาคม โดยมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์

เวลาเรียน

วันจันทร์ – วันศุกร์เวลา 17.30 – 20.30 น.
วันเสาร์ (เฉพาะภาคการศึกษาต้น)เวลา 09.00 – 12.00 น.

การสมัครเข้าศึกษา

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัคร                                                                                 

  1. สำเร็จการศึกษาขั้นต่ำปริญญานิติศาสตรบัณฑิต
  2. ผู้สมัครต้องผ่านการทดสอบภาษาอังกฤษ โดยมีคะแนนสอบ CU-TEP ตั้งแต่ 30 หรือ TOEFL ตั้งแต่ 400 หรือ IELTS ตั้งแต่ 3.0 จึงจะมีสิทธิเข้าศึกษา โดยผู้สมัครต้องยื่นผลสอบภาษาอังกฤษก่อนลงทะเบียนสอบสัมภาษณ์ มิฉะนั้น จะไม่มีสิทธิเข้าสอบสัมภาษณ์ (ผลการทดสอบภาษาอังกฤษมีผลใช้ได้ไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ทำการสอบจนถึงวันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าศึกษาในหลักสูตรฯ) และต้องมีคะแนนภาษาอังกฤษ CU-TEP ตั้งแต่ 45 หรือ TOEFL ตั้งแต่ 450 หรือ IELTS ตั้งแต่ 4.0 หรือสอบผ่านรายวิชาภาษาอังกฤษตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด จึงจะสำเร็จการศึกษา
  3. ต้องไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสียอย่างร้ายแรง

จำนวนที่คาดว่าจะรับ ปีการศึกษา 2567 จำนวนทั้งสิ้น 74 คน โดยแบ่งเป็น

  • แผน ก2 (วิทยานิพนธ์) จำนวน 14 คน
  • แผน ข (เอกัตศึกษา) จำนวน 60 คน

วิธีการคัดเลือก

การสอบข้อเขียน

สอบความรู้พื้นฐานทางนิติศาสตร์

(1) ความรู้ทั่วไปทางนิติศาสตร์ (กฎหมายลักษณะสัญญาและกฎหมายเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจ)
(2) ความรู้เฉพาะหมวดวิชา

  • หมวดกฎหมายภาษีอากร
  • หมวดกฎหมายการเงินและหลักทรัพย์                  

การสอบสัมภาษณ์

ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา

  1. ค่าเล่าเรียน (ตามประกาศจุฬาฯ เรื่อง อัตราการเรียกเก็บเงินค่าเล่าเรียน พ.ศ. 2562)
  2. ค่าธรรมเนียมการศึกษา ภาคการศึกษาละ 35,000.- บาท
  3. ค่าธรรมเนียมโครงการอบรมพิเศษความรู้เบื้องต้นทางบริหารธุรกิจ 5,000.-  บาท

ระยะเวลาการรับสมัคร

เปิดรับสมัครระหว่างเดือนมกราคม – เมษายน ของทุกปี ** คลิกสมัคร **

วิธีการสมัคร

ยื่นใบสมัครผ่านทาง Online ได้ที่ www.law.chula-regist.com

ค่าธรรมเนียมการสมัคร

800 บาท

บุคลากรประจำหลักสูตร

ผู้อำนวยการหลักสูตร

  • อาจารย์ธิดาพร  ศิริถาพร

รองผู้อำนวยการหลักสูตร

  • อาจารย์ ดร.วรุตม์ ทรงสุจริตกุล

เจ้าหน้าที่ประจำหลักสูตร

  • นางสาวช่อทิพวัลย์ รัตนนรชัย โทรศัพท์ 02-218-2024
  • นางสาวธนภร สวัสดิมงคล โทรศัพท์ 02-218-2075
  • นางสุมาลี หิรัญวชิระ โทรศัพท์ 02-218-2056

ติดต่อหลักสูตร

หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายการเงินและภาษีอากร
โทร: 095-367-6126 และ 097-026-6896
อีเมล: llm-fintax@law.chula.ac.th

ข้อมูลนิสิตเก่า

นางสาวพูนภา หมู่ศิริเลิศ

Legal Consultant


“ดีใจที่ได้เรียน น.ม. การเงินและภาษีอากรก่อนที่จะไปเรียนต่อต่างประเทศและกลับไปทำงานในสำนักงานกฎหมายอีกครั้งค่ะ เพราะว่าได้มีโอกาสได้เรียนรู้จากนักกฎหมายที่เป็นผู้ใช้กฎหมายจริงผสมกับการเรียนรู้ถึงหลักการและเหตุผลของกฎหมายแต่ละฉบับ ทำให้มีทักษะในการทำความเข้าใจ วิเคราะห์และตีความกฎหมายที่ดีขึ้นและนำไปใช้ได้ในชีวิตการทำงานจริงค่ะ”

นายสุรศักดิ์ รัตนาพรรณ

อัยการผู้ช่วย สำนักงานอัยการสูงสุด


เป็นหลักสูตรที่ให้ความรู้และประสบการณ์ทางด้านกฎหมายภาษีอากรและกฎหมายการเงินในหลากหลายแง่มุมสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้จริงและสร้างโอกาสให้ผู้ที่เรียนจบหลักสูตรสามารถนำวุฒิการศึกษาไปใช้ต่อยอดในการประกอบอาชีพได้หลากหลายขึ้น