ภาพรวมหลักสูตร

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่ตั้งขึ้นเป็นหลักสูตรแรกของคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหลักสูตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า และมีคุณสมบัติตามระเบียบการสมัครสอบวัดความรู้เพื่อสมัครเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของของรัฐที่เป็นส่วนราชการ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และหรือตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการบริหารคณะประกาศกำหนด ในแต่ละปีการศึกษาจะมีการรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรปีละประมาณ 300 คน นิสิตทุกคนมีอาจารย์ที่ปรึกษาผู้ให้คำปรึกษาและแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตร การวางแผนการศึกษา ทุนการศึกษา การศึกษาต่อ ตลอดจนการใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต มีสาขาให้นิสิตเลือกเรียนได้ตามความสนใจถึง 4 สาขา เพื่อให้เกิดความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ได้แก่ สาขาวิชากฎหมายธุรกิจและภาษีอากร สาขาวิชากฎหมายแพ่งพาณิชย์และอาญา สาขาวิชากฎหมายมหาชน และสาขาวิชากฎหมายระหว่างประเทศ ทั้งนี้ การเลือกสาขาวิชาดังกล่าวจะดำเนินการเมื่อนิสิตเรียนอยู่ในชั้นปีที่ 3 และลงทะเบียนเรียนในภาคการศึกษาปลาย อนึ่ง เมื่อสำเร็จการศึกษา นิสิตจะได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต โดยไม่มีการระบุสาขาไว้ในปริญญาบัตร นอกจากการเลือกสาขาวิชาข้างต้นแล้ว หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตยังได้เปิดรายวิชาใหม่ ๆ อีกหลายรายวิชา สำหรับวิชาเลือกเสรีเพื่อให้นิสิตสามารถลงทะเบียนเรียนในรายวิชาที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับความต้องการของสังคมได้มากขึ้น

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดโครงการฝึกงานภาคฤดูร้อนให้กับนิสิตที่สำเร็จการศึกษาชั้นปีที่ 3 เพื่อเปิดโอกาสให้นิสิตได้เลือกฝึกงานในหน่วยงานทั้งภาครัฐหรือภาคเอกชนตามความสนใจของตนได้ในช่วงปิดภาคฤดูร้อนเป็นระยะเวลา 2 เดือน โครงการฝึกงานฤดูร้อนไม่ใช่เงื่อนไขในการศึกษา แต่เป็นเพียงโครงการเสริมที่นิสิตเข้าร่วมตามความสมัครใจ

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตมุ่งผลิตบัณฑิตที่พร้อมด้วยความรู้และทักษะการทำงาน วิชาที่เปิดสอนในหลักสูตรจึงมีทั้งวิชาที่เป็นการเชิงวิชาการและวิชาที่การศึกษาเชิงปฏิบัติที่สอนโดยคณาจารย์และนักปฏิบัติที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ปัจจุบันมีบัณฑิตจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ประสบความสำเร็จจำนวนมากทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน

โครงสร้างหลักสูตร

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรในระบบทวิภาค โดยมีระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปีการศึกษา

หลักสูตรปริญญาตรี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563)

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 132 หน่วยกิต
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 34 หน่วยกิต โดยแบ่งออกเป็น
– วิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
– วิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ 10 หน่วยกิต
หมวดวิชาเฉพาะ 92 หน่วยกิต โดยแบ่งออกเป็น
– กลุ่มวิชาพื้นฐานทางนิติศาสตร์ (บังคับ) 80 หน่วยกิต
– กลุ่มวิชาเฉพาะสาขา (บังคับเลือก) 12 หน่วยกิต
หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต

การขออนุปริญญานิติศาสตร์

นิสิตสามารถขออนุปริญญานิติศาสตร์ในกรณีที่นิสิตได้ลงทะเบียนเรียนและสอบผ่านรายวิชาในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ตั้งแต่ 109 หน่วยกิต ดังนี้
(โดยปกติคือเมื่อนิสิตจบชั้นปีที่ 3) โดยจะต้องลงทะเบียนเรียนให้ครบตามหลักสูตรปริญญาตรี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2563) หน้า 34 – 38 ให้ครบทุกรายวิชา

หมวดวิชาศึกษาทั่วไป จำนวน  32  หน่วยกิต

  • วิชาศึกษาทั่วไป 24 หน่วยกิต
  • วิชาศึกษาทั่วไปกลุ่มพิเศษ 8 หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ จำนวน 80  หน่วยกิต

  • กลุ่มวิชาพื้นฐานทางนิติศาสตร์ (บังคับ) 80  หน่วยกิต

อนุปริญญานิติศาสตร์มีประโยชน์ในการใช้สมัครเรียนอบรมวิชาว่าความของสภาทนายความ เพื่อใช้ในการขอรับใบอนุญาตว่าความ

* รายวิชาที่ลงทะเบียนเรียนแบบ S/U จะไม่นับหน่วยกิต ดังนั้น จึงรวมเป็น 109 หน่วยกิต

รูปแบบการรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต ปีการศึกษา 2567

ดูรายละเอียดการรับสมัครได้ที่ https://www.mytcas.com/ และ http://www.admissions.chula.ac.th/

การรับบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีการศึกษา 2567 มีรูปแบบการรับเข้าศึกษา จำนวน 3 รอบ รวมจำนวนรับ 273 คน  ดังนี้

รอบที่ 1  แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

  • โครงการรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิชาการ จำนวน 5 คน
  • โครงการรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านกีฬา (ทีมชาติ) จำนวน 2 คน

รอบที่ 2  โควตา (Quota) ใช้คะแนนสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ

  • โครงการผู้มีความสามารถดีเด่นระดับชาติทางกีฬา  จำนวน 6 คน
  • โครงการจุฬาฯ-ชนบท  จำนวน 10 คน
  • โครงการนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้

รอบที่ 3  Admission จำนวน 250 คน

เกณฑ์การรับเข้าศึกษาและจำนวนรับ

1. รอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)

1.1 โครงการรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษด้านวิชาการ จำนวน 5 คน

คุณสมบัติผู้สมัคร

เป็นผู้มีแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่แสดงผลงานตามข้อ 1. (ก) หรือ (ข) และ ข้อ 2. ดังนี้ไปนี้

          1.  (ก) เป็นตัวแทนประเทศไทยในการเข้าร่วมแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศ (ระดับนานาชาติ)โดยไม่จำกัดสาขาหรือ

               (ข) เป็นผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศหรือรองชนะเลิศในการแข่งขันด้านวิชาการระดับชาติ โดยไม่จำกัดสาขา

          และ

          2.  การเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมด้านกฎหมายหรือสังคม

เกณฑ์การพิจารณา
  1. พิจารณารายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์จากคะแนนแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
    • ความสามารถด้านวิชาการโดยพิจารณาจากผลงาน
    • ความรู้ความสามารถ ทักษะ ศักยภาพ ความสนใจในการศึกษาวิชานิติศาสตร์ จากผลงานการเข้าร่วมโครงการหรือกิจกรรมด้านกฎหมายหรือสังคมและ Reflective writing (การเขียนสะท้อน)
  2. พิจารณารายชื่อผู้ผ่านการสอบสัมภาษณ์จากคะแนนการสอบสัมภาษณ์
    • บุคลิกภาพ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ภาวะผู้นำ และการทำงานร่วมกับผู้อื่น
    • ความรู้ทั่วไป ความรู้ความสนใจ เกี่ยวกับประเด็นทางกฎหมายหรือสังคม ความตั้งใจและศักยภาพในการศึกษาหรือการทำงานด้านนิติศาสตร์

1.2 โครงการรับนักเรียนที่มีศักยภาพทางด้านกีฬา (โครงการพัฒนากีฬาชาติ) จำนวน 2 คน

คุณสมบัติผู้สมัคร

เป็นนักกีฬามาตรฐานระดับโลก/ทีมชาติไทย ในการแข่งขันระดับนานาชาติ/เยาวชนทีมชาติไทย

เกณฑ์การพิจารณา
  1. ผลการเรียนเฉลี่ยนสะสม (GPAX) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
  2. แฟ้มสะสมผลงานด้านกีฬา ในช่วงปีพ.ศ.2563 – 2566

2. รอบที่ 2  โควตา (Quota) ใช้คะแนนสอบข้อเขียนหรือข้อสอบปฏิบัติ

ประเภทการรับ องค์ประกอบและค่าน้ำหนักร้อยละ จำนวนรับ (คน)
TGAT A-Level เกณฑ์ขั้นต่ำ
โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นระดับชาติทางกีฬา 100 ไม่ต่ำกว่า 50% 6
โครงการจุฬาฯ-ชนบท 50 Math2 / Fre / Ger / Jap / Chi 50 แต่ละวิชาไม่ต่ำกว่า 25% 10

คุณสมบัติผู้สมัคร

  1. โครงการรับสมัครคัดเลือกนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นระดับชาติทางกีฬา
    • เป็นนักกีฬาทีมชาติ/เยาวชนทีมชาติไทย/เป็นผู้ที่ได้อันดับที่ 1 – 3 ในการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ กีฬาเยาวชนแห่งชาติ หรือรายงานแข่งขันอื่น ๆ ที่เทียบเท่าตามชนิดกีฬาที่มหาวิทยาลัยกำหนดในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2563 – 2566
    • ผลการเรียนเฉลี่ยสะสม (GPAX) รวม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.50
  2. โครงการจุฬาฯ-ชนบท
    • เป็นไปตามประกาศของโครงการโครงการจุฬาฯ-ชนบท กำหนด

โครงการนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามฯ

การรับนักศึกษาชาวไทยที่นับถือศาสนาอิสลามจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2567 โดยใช้เกณฑ์การคัดเลือกตามเกณฑ์การรับแบบ Admission ดังนี้

ประเภทการรับ TGAT A-Level
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา เลือกสอบวิชา
– เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 (Math2) 20 20 20 20 20
– เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (Fre) 20 20 20 20 20
– เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (Ger) 20 20 20 20 20
– เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (Jap) 20 20 20 20 20
– เลือกสอบวิชาภาษาจีน (Chi) 20 20 20 20 20

*ทุกคณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวนรับรวมกันแล้วไม่เกิน 4 คน

3. รอบที่ 3  Admission จำนวน 250 คน

ประเภทการรับ TGAT A-Level จำนวนรับ (คน)
ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา เลือกสอบวิชา
– เลือกสอบวิชาคณิตศาสตร์ 2 (Math2) 20 20 20 20 20 125
– เลือกสอบวิชาภาษาฝรั่งเศส (Fre) 20 20 20 20 20 35
– เลือกสอบวิชาภาษาเยอรมัน (Ger) 20 20 20 20 20 25
– เลือกสอบวิชาภาษาญี่ปุ่น (Jap) 20 20 20 20 20 25
– เลือกสอบวิชาภาษาเกาหลี (Kor) 20 20 20 20 20 5
– เลือกสอบวิชาภาษาจีน (Chi) 20 20 20 20 20 35
รวม 250

*เกณฑ์ผ่าน คะแนนรวมทุกรายวิชาไม่ต่ำกว่า 50%

การจัดการศึกษา

ระยะเวลาการศึกษาตลอดหลักสูตร 4 ปี เป็นระบบทวิภาค คือ ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย หรือภาคฤดูร้อน (สำหรับลงทะเบียนเรียนเฉพาะวิชาศึกษาทั่วไป)

ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษา

แบบเหมาจ่าย ภาคการศึกษาละ 21,000 บาท

ทุนอุดหนุนการศึกษา

  • ทุนประเภท  ก เป็นทุนค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายรายเดือน
  • ทุนประเภท ข (1) เป็นทุนค่าเล่าเรียน
  • ทุนประเภท ข (2) เป็นทุนค่าใช้จ่ายรายเดือน ประมาณ 60,000 บาท/ปีการศึกษา
  • ทุนประเภท ค เป็นทุนค่าใช้จ่ายบางส่วน ไม่เกิน 10,000 บาท/ปี

* การพิจารณาทุนการศึกษา พิจารณาจากรายได้-ฐานะ-หนี้สิน และความจำเป็นอื่น ๆ ของครอบครัวเป็นหลัก

ติดต่อหลักสูตร

  • อาจารย์ ดร.ฐิตินันท์ เต็งอำนวย ผู้อำนวยการหลักสูตร
  • นางวันทนา เขียวกล่ำ เจ้าหน้าที่หลักสูตร
  • นางสาวอนุสรา ชูชื่น เจ้าหน้าที่หลักสูตร
  • นางสาวภุชงค์ พรหมเมือง เจ้าหน้าที่หลักสูตร
  • นางสาวศลิษา สัจจาพิพัฒน์ เจ้าหน้าที่งานทะเบียนและส่งเสริมวิชาการ
  • นายภูภัชร พัฒนธารธาดา เจ้าหน้าที่งานทะเบียนและส่งเสริมวิชาการ
  • นางสาวสายธาร ลาโสภา เจ้าหน้าที่งานทะเบียนและส่งเสริมวิชาการ
  • นายสุทรรศน์ ดีใจ เจ้าหน้าที่งานทะเบียนและส่งเสริมวิชาการ
  • โทรศัพท์: หลักสูตร 02-218-2012, งานทะเบียน 02-218-2062
  • โทรศัพท์มือถือ: หลักสูตร 095-367-6119, งานทะเบียน 095-367-6120
  • Email: หลักสูตร llb@law.chula.ac.th, งานทะเบียน online-regis@law.chula.ac.th
  • Facebook: @infolawchula

ภาพตัวอย่างกิจกรรมนิสิต