ผู้แต่ง : นายธนกร สามคุ้มพิมพ์ นิสิต หลักสูตร นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายการเงินและภาษีอากร คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของเอกัตศึกษา เรื่อง “กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก”

โดยเหตุที่ประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิก Global Forum on Transparency and Exchange of Information for Tax Purposes (Global Forum) ประเทศไทยจึงมีพันธกรณีที่จะต้องเข้ารับการประเมินประสิทธิภาพด้าน
การแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อประโยชน์ในทางภาษีแบบร้องขอ หรือ Exchange of Information on Request (“EOIR”)  ว่ามีมาตรฐานเป็นไปตามที่หลักเกณฑ์สากลกำหนดไว้หหรือไม่ ซึ่งการประเมินและตรวจสอบจะถูกดำเนินการโดยคณะทำงานที่เรียกว่า Peer Reviews Group (“PRG”) โดยจะมีการดำเนินการตรวจสอบมาตรฐานใน 3 หลักการใหญ่ซึ่งมีเงื่อนไขที่ใช้ในการประเมินตรวจสอบ ดังนี้

A. ประการแรก ด้านความพร้อมของข้อมูล (Availability Information)

A. ความพร้อมของข้อมูล (Availability Information)
A1.1 ความพร้อมของข้อมูลองค์กรธุรกิจ
A1.1.1 ข้อมูลบริษัท : เป็นข้อมูลความเป็นเจ้าของของผู้ครอบครองบริษัท ผู้ถือหุ้น รวมถึงผู้ถือกรรมสิทธิ์และผู้ได้รับผลประโยชน์ (Beneficial Ownership)
A1.1.2 ข้อมูลผู้ถือหุ้นชนิดหรือประเภทหุ้นผู้ถือ : เป็นข้อมูลของผู้เป็นเจ้าของตามกฎหมายในหุ้นประเภทผู้ถือ
A1.1.3 ข้อมูลทรัสต์ : เป็นข้อมูลของผู้ดูแลทรัสต์ และผู้ได้รับประโยชน์ในกองทรัสต์
A1.1.4 ข้อมูลหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน : เป็นข้อมูลของหุ้นส่วน ในห้างหุ้นส่วน
A1.1.5 ข้อมูลมูลนิธิ : เป็นข้อมูลของผู้ก่อตั้งมูลนิธิ
A1.2 ความพร้อมของข้อมูลทางบัญชี : ข้อมูลทางบัญชีที่สามารถทราบได้ถึงปริมาณธุรกรรมที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนจำนวนรายได้และรายจ่าย
A1.3 ความพร้อมของข้อมูลทางธนาคาร : ข้อมูลธนาคารมีการจัดทำบันทึกและจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับธุรกรรมซึ่งเกิดขึ้นจากการให้บริการแก่ลูกค้าหรือผู้ใช่บริการ

ตาราง 1 เงื่อนไขความพร้อมของข้อมูล

B. ประการที่สอง ด้านการเข้าถึงข้อมูล (Access to Information) 

B. การเข้าถึงข้อมูล (Access to Information)
B1.1 การเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยพิจารณาจากกรอบกฎหมายที่มีการกำหนดหลักเกณฑ์และอำนาจแก่หน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศ
B1.1.1 การกำหนดหน่วยงานผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างชัดเจน
B1.1.2 ขอบเขตอำนาจของหน่วยงานผู้มีอำนาจ
B1.1.3 ข้อจำกัดอำนาจของหน่วยงานผู้มีอำนาจ
B1.1.4 มาตรการบังคับใช้และการกำหนดบทลงโทษ
B1.1.5 ต้องไม่ปฏิเสธตามข้อกำหนดการรักษาความลับของธนาคาร
B2.2 การให้สิทธิและการป้องกัน ไม่ควรเป็นการชะลอการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ตาราง 2 เงื่อนไขการเข้าถึงข้อมูล

C. ประการที่สาม ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล (Exchange information) 

C. การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Exchange information)
C1.1 กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลควรจัดให้มีประสิทธิภาพ
C1.1.1 การกำหนดหน่วยงานผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างชัดเจน
C1.1.2 ขอบเขตอำนาจของหน่วยงานผู้มีอำนาจ
C1.1.3 ข้อจำกัดอำนาจของหน่วยงานผู้มีอำนาจ
C1.1.4 มาตรการบังคับใช้และการกำหนดบทลงโทษ
C1.1.5 ต้องไม่ปฏิเสธตามข้อกำหนดการรักษาความลับของธนาคาร
C1.2 ครือข่ายกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลทั้งหมดของประเทศที่ร้องมีความครอบคลุมพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง
C1.3 กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลควรมีข้อกำหนดเพียงพอในการรักษาความลับ
C1.4 กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลควรมีข้อยกเว้นในการเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิชาชีพ
C1.5 ประเทศที่ถูกร้องขอควรให้ข้อมูลของตนอย่างมีประสิทธิภาพ

ตาราง 3 เงื่อนไขกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูล

โดยจากการศึกษาการประเมินและตรวจสอบมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอของคณะทำงาน PRG ที่ได้เข้าตรวจสอบและทำการประเมินผลการปฏิบัติตามมาตรฐานสากลใน 120 ประเทศนั้น ได้ผลสรุปโดยการออกระดับคะแนนจากการปฏิบัติตามมาตรฐานออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่

ตาราง 4 คะแนนจากผลการประเมินมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ

          จากการศึกษาเปรียบเทียบผลการประเมิน (Peer review) ของประเทศต่าง ๆ ที่เข้ารับการตรวจสอบและประเมิน โดย Global Forum ตามประเด็นปัจจัยการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ (EOIR) ต่อการเตรียมการและความพร้อมสำหรับประเทศไทยทั้งในด้านกรอบกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ซึ่งตามกำหนดประเทศไทยจะเข้ารับการประเมินในปี 2565 นั้น จึงขอสรุปประเด็นในส่วนของประเทศไทยออกเป็นตามข้อกำหนดและปัจจัยพิจารณา ดังนี้ 

ประเด็นแรก เรื่อง ความพร้อมของข้อมูล (Availability Information)

A. ความพร้อมของข้อมูล (Availability Information) ของประเทศไทย

A. ความพร้อมของข้อมูล (Availability Information) ของประเทศไทย
A1.1 ความพร้อมของข้อมูลองค์กรธุรกิจ
A1.1.1 ข้อมูลบริษัท : มีความพร้อมของข้อมูล โดยอยู่ภายใต้การจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า แต่ประเทศไทยยังขาดเรื่องความพร้อมในข้อมูลของผู้ได้รับประโยชน์ที่แท้จริง (Beneficial Ownership)
A1.1.2 ข้อมูลผู้ถือหุ้นชนิดหรือประเภทหุ้นผู้ถือ : มีกฎหมายที่รองรับเรื่องการออกหุ้นชนิดผู้ถือ แต่ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้เป็นเจ้าของในหุ้นชนิดผู้ถือได้อย่างมีประสิทธิภาพ
A1.1.3 ข้อมูลทรัสต์ : ไม่มีกรอบกฎหมายที่รับรองการจัดตั้งกองทรัพสต์ขึ้นในประเทศ
A1.1.4 ข้อมูลหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วน : ข้อมูลมีความพร้อมเนื่องจากอยู่ภายใต้กฎหมายที่มีการบังคับให้ต้องจดทะเบียนต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตลอดจนการบันทึกข้อมูลหุ้นส่วนไว้เพื่อการตรวจสอบและรายงาน
A1.1.5 ข้อมูลมูลนิธิ : มีกฎหมายที่กำหนดให้การจัดตั้งมูลนิธิต้องมีการจดทะเบียนและแจ้งข้อมูลของผู้ก่อตั้ง ตลอดจนผู้ได้รับประโยชน์ของมูลนิธิ
A1.2 ความพร้อมของข้อมูลทางบัญชี : ข้อมูลทางบัญชีถูกกำหนดให้หน่วยทางธุรกิจต้องมีการจัดเก็บและบันทึกไว้ตามพระราชบัญญัติการบัญชี
A1.3 ความพร้อมของข้อมูลทางธนาคาร : ข้อมูลธนาคารมีมีความพร้อม โดยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติการธนาคารและอยู่ภายใต้การกำกับของธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนการรายงานข้อมูลต่อกรมสรรพากรในทางภาษีตามธุรกรรมที่กำหนด

ตาราง 5 สรุปศึกษาประเทศไทยสำหรับเงื่อนไขความพร้อมของข้อมูล

ประเด็นที่สอง เรื่อง การเข้าถึงข้อมูล (Access to information) 

B. การเข้าถึงข้อมูล (Access to Information) ของประเทศไทย

B. การเข้าถึงข้อมูล (Access to Information) ของประเทศไทย
B1.1 การเข้าถึงข้อมูลของหน่วยงานผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูล
B1.1.1 มีการกำหนดให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า เป็นหน่วยงานที่เก็บรวบรวมฐานข้อมูลนิติบุคคล ควบคู่กับกรมสรรพากรในการมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูลโดยการได้รับแจ้งรายงาน และการเรียกข้อมูล พยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และประมวลรัษฎากร
B1.1.2 ภายใต้ประมวลรัษฎากร ได้ให้อำนาจแก่หน่วยงานสรรพากรในการเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่อการแลกเปลี่ยนตามคำร้องขอ
B1.1.3 ไม่มีข้อจำกัดอำนาจของหน่วยงานผู้มีอำนาจ
B1.1.4 มีการกำหนดมาตรการบังคับใช้และการกำหนดบทลงโทษไว้ในประมวลกฎหมายรัษฎากร ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติการบัญชี เป็นต้น
B1.1.5 ภายใต้ความตกลงที่ประเทศไทยได้ทำไว้ มีการกำหนดให้ไม่ปฏิเสธตามข้อกำหนดการรักษาความลับของธนาคาร
B2.2 ไม่มีการแจ้งสิทธิแก่ผู้ครอบครองข้อมูลเพื่อให้เกิดประเด็นการชะลอการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ตาราง 6 สรุปศึกษาประเทศไทยสำหรับเงื่อนไขการเข้าถึงข้อมูล

ประเด็นที่สาม เรื่อง การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Exchange Information)

C. การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Exchange information ของประเทศไทย

C. การแลกเปลี่ยนข้อมูล (Exchange information) ของประเทศไทย
C1.1 กลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูลควรจัดให้มีประสิทธิภาพ
C1.1.1 มีการกำหนดให้กรมสรรพากร โดยอธิบดีกรมสรรพากร เป็นผู้มีอำนาจในการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างชัดเจน
C1.1.2 ขอบเขตอำนาจของกรมสรรพากรอยู่ภายใต้ประมวลรัษฎากรและระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนข้อมลูตามมาตรา 10 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2564
C1.1.3 ไม่มีข้อจำกัดอำนาจของหน่วยงานผู้มีอำนาจ
C1.1.4 อาศัยอำนาจในการใช้มาตรการบังคับใช้และการกำหนดบทลงโทษตามกฎหมายได้ เช่น พระราชบัญญัติการบัญชี ประมวลรัษฎากร และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
C1.1.5 ประเทศไทยไม่ปฏิเสธตามข้อกำหนดการรักษาความลับ แม้เป็นข้อมูลที่อยู่ในความครอบครองของธนาคาร
C1.2 ปัจจุบันประเทศไทยมีความตกลง DTA จำนวน61 ฉบับ และในปี 2560 ประเทศไทยได้ตกลงเข้าร่วม Global Forum
C1.3 ภายใต้ประมวลรัษฎากรและระเบียบกระทรวงการคลัง เป็นที่มั่นใจได้ในระดับหนึ่งถึงกรอบกฎหมายและมาตรการในการรักษาตวามลับของข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยน
C1.4 ภายใต้ความตกลงที่ประเทศไทยได้ลงนามได้มีข้อยกเว้นในการเปิดเผยความลับทางการค้า ธุรกิจ อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือวิชาชีพ
C1.5 ประเทศยังไม่ได้เข้ารับการประเมินในทางปฏิบัติ ในส่วนนี้จึงไม่อาจมีผลของการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

ตาราง 7 สรุปการศึกษาประเทศไทยสำหรับเงื่อนไขกลไกการแลกเปลี่ยนข้อมูล

ข้อค้นพบ

จากกรอบการพิจารณาและหลักเกณฑ์ที่ Peer Reviews ได้นำมาใช้ในการเข้าตรวจสอบมาตรฐานการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอ ซึ่งประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกภายใต้กรอบเวทีความร่วมมือของ Global Forum และจะมีผลทำให้ประเทศไทยต้องเข้ารับการประเมินและตรวจสอบจาก Peer Reviews Groups เพื่อให้ทราบถึงมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอนั้น ประเทศไทยอาจได้รับคะแนนจากการประเมินในส่วนของความพร้อมข้อมูลที่เกี่ยวกับผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง ในหน่วยองค์กรธุรกิจบางประเภท เช่น กองทรัสต์ เนื่องจากความไม่ชัดเจนในกรอบกฎหมายสำหรับการติดตามข้อมูล ตลอดจนข้อมูลที่เกี่ยวกับความเป็นเจ้าของในหุ้นชนิดผู้ถือ ซึ่งยังไม่มีมาตรการในการติดตามความเป็นเจ้าของได้อย่างมีประสิทธิภาพในทางปฏิบัติ ฉะนั้นแล้วโดยภาพรวมของปัจจัยที่ใช้ในการประเมินสำหรับประเทศไทย จึงอาจได้รับคะแนนในระดับ Largely Compliant โดยเสนอให้ประเทศไทยมีการกำหนดกรอบความพร้อมในข้อมูลความเป็นเจ้าของและข้อมูลผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอของสากลได้ต่อไป