ความเป็นมา
ปัจจุบันคนไทยใช้สื่อสังคมออนไลน์และบริการทางอินเทอร์เน็ตต่างๆ เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ส่งผลให้เกิดการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมากอย่างเป็นสัดส่วนกัน รัฐบาลได้พยายามผลักดันให้มีการตรากฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว เพื่อสร้างความตระหนักรู้เรื่องความเป็นส่วนตัวและการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตระหนักถึงอันตรายหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดจากการถูกนำข้อมูลไปแสวงหาประโยชน์ทางการค้าหรือโดยมิชอบยิ่งมีอยู่น้อยกว่า
ตั้งแต่ปี 2561 คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (LDRC) มีส่วนสำคัญและนับเป็นหน่วยงานหลักเพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สร้างองค์ความรู้และยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในรูปแบบบริการสาธารณะ ในรูปแบบคู่มือที่แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่ได้ตีพิมพ์และเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ และได้รับความสนใจและตอบรับจากหน่วยงานและองค์กรธุรกิจ และโดยเฉพาะว่าแนวปฏิบัติดังกล่าวได้นำเสนอในคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ… และถูกตราเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2561
ทั้งนี้ กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นกฎหมายใหม่ และเชื่อมโยงกับองค์ความรู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเทคโนโลยี Law Lab for Personal Data Protection (Law Lab PDPA) จึงเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อเป็นพื้นที่นิสิตที่มีความสนใจเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้เรียนรู้ ฝึกฝน ตลอดจนพัฒนาตนเองโดยให้คำแนะนำเพื่อช่วยเหลือให้แก่องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ที่ครอบครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เข้าร่วมโครงการฯ และสามารถปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างถูกต้อง
ผลงานของ Law Chula และ LDRC
วัตถุประสงค์
- นิสิตผู้ปฏิบัติการได้เรียนรู้เรื่องการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลในองค์กรและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- นิสิตผู้ปฏิบัติการได้ทำ workshop และให้คำปรึกษาแก่องค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
- Law Lab PDPA ทำบริการสาธารณะให้คำปรึกษาและช่วยเหลือองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ ด้านการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
ผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร. ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง
ผลงาน Law Lab PDPA
ปี 1 (2564)
หน่วยงานร่วมโครงการฯ : บริษัท ยูเนียน เว็ลธ์ จำกัด (Union Wealth)
ผลงาน :
- การเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
- วิเคราะห์และประเมินหาช่องว่างในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Gap Analysis)
- บันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
- รายงานการดำเนินการและผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับลูกค้าฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- แบบฟอร์มขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
ปี 2 (2565)
หน่วยงานร่วมโครงการฯ : คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
ผลงาน :
- การเก็บรวบรวมข้อมูลกิจกรรมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล
- วิเคราะห์และประเมินหาช่องว่างในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Gap Analysis)
- บันทึกกิจกรรมการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลในระบบของมหาวิทยาลัย
- รายงานการดำเนินการและผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- แบบฟอร์มขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ปี 3 (2566)
หน่วยงานร่วมโครงการฯ : โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงาน :
- รายงานการดำเนินการและผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงในการจัดการข้อมูลส่วนบุคคล
- ฐานทางกฎหมายที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ประมวลผลในแต่ละกิจกรรม
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับนักเรียนและผู้ปกครอง ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับอาจารย์ ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับเจ้าหน้าที่และบุคลากร ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับคู่ค้า นักวิจัยและบุคคลภายนอก ฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
- แบบฟอร์มขอความยินยอมในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลฉบับภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
– รายงานห้องปฏิบัติการยกระดับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (2566)
ปี 4 (2567)
โครงการเตรียมความพร้อมด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) สำหรับโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
หน่วยงานร่วมโครงการฯ : สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง
ผลงาน : รายงานการดำเนินการด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
สำหรับโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
Law knowledge Series
EP.3 มาตรการการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของนักธุรกิจในธุรกิจขายตรงที่มีรูปแบบหลายชั้น (พ.ย. 2564)
EP.4 ปัญหาการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในสถาบันการเงินภายใต้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562(ธ.ค. 2564)
EP.5 ปัญหาการใช้ฐานความจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบของธนาคารพาณิชย์ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล(ธ.ค. 2564)
EP.6 ข้อจำกัดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อป้องกันการทุจริตในธุรกิจธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ม.ค.2565)
EP.7 ผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการซึ่งขายสินค้าออนไลน์ที่เกิดจากการรายงานข้อมูลของบุคคลที่มีธุรกรรมลักษณะเฉพาะ : ศึกษากรณีผู้มีเงินได้เป็นบุคคลธรรมดา (มิถุนายน 2565)
EP.8 ปัญหาการบังคับใช้มาตรา 37 และมาตรา 37 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (กรกฎาคม 2565)
EP.9 กรณีศึกษาการแลกเปลี่ยนข้อมูลแบบร้องขอและการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ความตกลงระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก
EP.10 มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลสาธารณะทางภาษี
EP.11 สถานะทางกฎหมายระหว่างประเทศซอฟลอว์: กรณีศึกษาประมวลกฎต่อต้นการใช้สารต้องห้ามโลก 2021
EP.12 ความสามารถในการให้ความยินยอมของผู้เยาวในฐานเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
EP.13 กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล : จากสิทธิในความเป็นส่วนตัวสู่มาตรฐานทางธุรกิจ
EP.14 การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลสาธารณะ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : กรณีกิจกรรมสื่อมวลชนและกิจกรรมของสภา*
EP.15 การออกแบบลวงผู้ใช้งาน (deceptive patterns) หรือที่เรียกว่า ‘dark patterns’
Ep.16 การประเมินความเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลกรณีเกิดเหตุการณ์ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมุลส่วนบุคคล พ.ศ.2562
สนใจเข้าร่วม Law Lab PDPA หรือติดต่อสอบถาม
นิสิตที่สนใจเข้าร่วมงานกับ Law Lab PDPA หรือหน่วยงานและองค์กรที่สนใจเข้าร่วมรับคำปรึกษากับ Law Lab for PDPA สามารถติดต่อที่ lawlabpdpa@gmail.com
– แบบฟอร์มสมัครเข้าร่วมโครงการ (สำหรับหน่วยงานและองค์กรภายนอก) คลิก!