ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ได้จัดโครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็น “โครงการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพและกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535” เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา

โดยการจัดโครงการสัมมนารับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ จัดขึ้น ณ ห้องประชุมแมนดารินซี โรงแรมแมนดาริน แมนเนจ บาย เซนเตอร์ พอยท์ (สามย่าน) เวลา 09.00 – 12.00 น.

การสัมมนารับฟังความคิดเห็นได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวต้อนรับและเปิดงานเสวนา

 

 

ซึ่งได้รับเกียรติดำเนินรายการ โดย

รองศาสตราจารย์ ดร.คณพล จันทน์หอม (หัวหน้าโครงการวิจัย)

บรรยายการประเมินผลสัมฤทธิ์กระบวนการบังคับใช้กฎหมายของพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดย

  • ดร.อภิชน จันทรเสน

 

บรรยายศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการกํากับดูแลขององค์กรที่มีหน้าที่กํากับดูแลนอกจากสํานักงาน ก.ล.ต. ในประเด็น
– เปรียบเทียบมาตรการลงโทษสําหรับความผิดที่มีลักษณะเทียบเคียงกันได้ ระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กับ คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) และ
– อํานาจหน้าที่ในการดําเนินการในชั้นก่อนฟ้องคดี ระหว่างสํานักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กับ สํานักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) โดย

  • อาจารย์ ดร.ภูมิศิริ ดำรงวุฒิ

 

 

บรรยายศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการกํากับดูแลขององค์กรที่มีหน้าที่กํากับดูแลตามกฎหมายในต่างประเทศ (ประเทศเยอรมนี และประเทศฝรั่งเศส) โดย

  • อาจารย์ ดร.ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม

 

บรรยายศึกษาเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในการกํากับดูแลขององค์กรที่มีหน้าที่กํากับดูแลตามกฎหมายในต่างประเทศ (ประเทศออสเตรเลีย ประเทศมาเลเซีย และเขตบริหารพิเศษฮ่องกง) โดย

  • อาจารย์ ดร.ปิติ เอี่ยมจำรูญลาภ

 

 

การสัมมนารับฟังความคิดเห็นในครั้งนี้ เป็นการบรรยายพร้อมรับการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ เพื่อพัฒนาและต่อยอดองค์ความรู้ ในศึกษาวิจัยประสิทธิภาพและกระบวนการบังคับใช้กฎหมาย ภายใต้พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน รวมทั้งผู้ที่ชมผ่านทาง FACEBOOK LIVE ซึ่งหากผู้ที่สนใจในประเด็นการศึกษาโครงการวิจัยดังกล่าวสามารถติดตามรับชมรับฟังย้อนหลังได้ที่ LAW-LIVE