คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดงานการเสวนา เวที ฬ.จุฬา นิติมิติ เรื่อง “เงินกับพรรคการเมือง : อิสระ VS การตรวจสอบ” เมื่อวันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา

ซึ่งได้รับเกียรติจากวิทยากร โดย

  • รองศาสตราจารย์ ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
    อดีตอาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต
    คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
  • รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์
    คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • รองศาสตราจารย์สมชัย ศรีสุทธิยากร
    ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยการเมืองและการเลือกตั้งมหาวิทยาลัยรังสิต

และดำเนินรายการโดย

  • อาจารย์ ดร. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
    คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ

การเสวนาทางวิชาการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารีณา ศรีวนิชย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ กล่าวต้อนรับและเปิดงานเสวนา ณ ห้องประชุมสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ชั้น 4 อาคารเทพทวาราวดี นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ประเด็นที่นำมาสู่การเสวนาทางวิชาการในครั้งนี้ เนื่องจากมาจากคดีเงินกู้ หรือเงินบริจาคของพรรคการเมืองในปัจจุบัน โดยมีอาจารย์ ดร. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง เป็นผู้ดำเนินรายการ

รองศาสตราจารย์สมชัย ศรีสุทธิยากร ได้กล่าวถึงรายละเอียดของคดีเงินกู้ หรือเงินบริจาคของพรรคการเมืองที่กำลังเป็นประเด็นในปัจจุบัน โดยมีประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับเงินกู้เป็นเงินบริจาคหรือไม่? เงินกู้ถือเป็นรายได้อื่นหรือไม่? เงินกู้ถือเป็นประโยชน์อื่นใดหรือไม่?

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณชฎา ศิริวรรณบุศย์ ได้กล่าวถึง ประเด็นการจัดสรรเงินสนับสนุนกิจกรรมของพรรคการเมือง โดยเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศไทยในอดีตจนถึงปัจจุบัน และประเทศที่อยู่ใกล้เคียงกับประเทศไทย

รองศาสตราจารย์สมชัย ศรีสุทธิยากร ได้กล่าวถึง ความเป็นมาและพัฒนาการของพรรคการเมือง วัตถุประสงค์ของการมีพรรคการเมือง รวมถึงกลไก กระบวนการทางการเมือง ซึ่งพรรคการเมืองถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนภายในรัฐ ซึ่งควรมีการส่งเสริมในแง่มุมต่างๆ

รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต ได้อธิบายถึงหลักกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง บทลงโทษเกี่ยวกับการยุบพรรคทางการเมือง และบทลงโทษต่างๆ ตามกฎหมายในปัจจุบัน

การเสวนาในครั้งนี้ ผ่านลุล่วงไปด้วยดี โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก ทั้งนิสิต นักศึกษา รวมทั้งสื่อมวลชนจากสำนักข่าวต่างๆ  โดยหากผู้ที่สนใจในการเสวนาทางวิชาการดังกล่าวสามารถติดตามรับชมรับฟังย้อนหลังได้ที่ LAW-LIVE