ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับ สถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC)
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันอนุญาโตตุลาการ (THAC) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท อันเป็นบทบาทที่สำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่และการดำเนินการของสถาบัน
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านกฎหมาย โดยเฉพาะการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการในการระงับข้อพิพาท
- เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการ และการดำเนินงานด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก ระหว่างสถาบัน กับ คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ
- เพื่อร่วมกันส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ งานประชุมอบรมรวมถึงงานสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคประชาชน
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.)
คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การจัดการและเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ผู้ประกอบการ MSME ผ่าน e-Learning Platform (SME Academy 365)
วัตถุประสงค์ :
เพื่อสนับสนุนและและส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ โดยการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ การศึกษาวิจัยกฎหมาย การจัดการศึกษาอบรม รวมถึงความร่วมมือกันในการจัดกิจกรรมอันเป็นประโยชน์อื่นๆ เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมและพัฒนางานด้านกฎหมาย โดยเฉพาะการจัดการและเชื่อมโยงองค์ความรู้ทางกฎหมายให้แก่ผู้ประกอบการ MSME
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม
หน่วยงานที่ร่วม :
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อพัฒนาและสร้างรายวิชา หรือชุดวิชาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับยาเสพติดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้แก่นิสิต นักศึกษาของมหาวิทยาลัย
- เพื่อพัฒนาและสร้างหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อประโยชน์ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในท้องถิ่นและสังคม ทั้งในและต่างประเทศ
- เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนางานวิจัย การบริการวิชาการ การติดตามประเมินผล และงานทางวิชาการอื่น ทั้งในและต่างประเทศ
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับกรมราชทัณฑ์
วัตถุประสงค์ :
เพื่อเป็นการยกระดับการขยายความร่วมมือและเพื่อเป็นการบูรณาการทางวิชาการ ตลอดจนการวิจัยพัฒนางานของสถาบันการศึกษาและพัฒนางานราชทัณฑ์ รวมตลอดจนการพัฒนาในด้านการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังให้เป็นมาตรฐาน การแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำ การพัฒนาองค์กรให้ทันสมัยและโปร่งใสและการกลับคืนสู่สังคมและติดตามผู้พ้นโทษ
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับสถาบันพระปกเกล้า
หน่วยงานที่ร่วม :
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
- คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วัตถุประสงค์ :
- ความร่วมมือด้านการศึกษาและวิชาการ ภาคีร่วมตกลงกันให้มีความร่วมมือในด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการสร้างองค์ความรู้ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการในงานวิจัย บทความ บทวิเคราะห์ หรือเอกสารทางวิชาการใด ๆ ที่จะอำนวยประโยชน์ในทางวิชาการร่วมกัน
- ความร่วมมือด้านการจัดกิจกรรม ภาคีร่วมตกลงกันให้มีการจัดกิจกรรมร่วมกัน อาทิ การจัดประชุม สัมมนาวิชาการ หรือการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรม เพื่อให้มีความรู้และพัฒนาทักษะด้านกฎหมายแก่สมาชิกรัฐสภา คณะกรรมาธิการ และบุคลากรในวงงานรัฐสภา
- ความร่วมมือด้านทรัพยากร ภาคีร่วมตกลงกันให้มีการใช้ทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถด้านต่างๆ ร่วมกันในการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยในข้อมูลทางวิชาการอันเป็นประโยชน์ต่อการสนับสนุนและส่งเสริมงานนิติบัญญัติ รวมถึงสนับสนุนและส่งเสริมการเชื่อมโยงฐานข้อมูลหรือสารสนเทศ และการจัดการองค์ความรู้ระหว่างกัน
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับสำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อสร้างความร่วมมือในการศึกษาและพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้า อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาการเรียนการสอน การศึกษาวิจัย และสร้างองค์ความรู้ด้านการแข่งขันทางการค้า
- เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันทางการค้า อันเป็นการส่งเสริมการกำกับดูแลการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อสร้างความร่วมมือในการสร้างการตระหนักรู้ ส่งเสริมและปลูกฝังวัฒนธรรมการแข่งขันทางการค้าอย่างเสรีและเป็นธรรมให้แก่ผู้เกี่ยวข้อง
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
วัตถุประสงค์ :
เพื่อประสานความร่วมมือ ร่วมงาน และสนับสนุนการ ดำเนินการระหว่างทั้งสองฝ่ายในการศึกษาวิจัยเรื่อง ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะในบริบทของบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (“บริษัทจดทะเบียน”) ตามแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562 – 2565) หรือ National Action Plan on Business and Human Rights (“แผน NAP”) โดยการนำหลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (The United Nations Guilding Principles on Business and Human Rights: “UNGPs”) นำมาบูรณาการปรับใช้ให้เหมาะสมกับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย รวมทั้งการจัดทำหลักสูตรอบรม “ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชนสำหรับภาคธุรกิจในตลาดทุนไทย” เพื่อเตรียมความพร้อมให้บริษัทจดทะเบียนสามารถเปิดเผยนโยบายและแนวปฏิบัติด้านการเคารพสิทธิมนุษยชน ในแบบ 56-1 One Report ซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2565 (รอบปีบัญชีสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564) ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ของตลาดทุนไทย และของแต่ละบริษัท อันจะเป็นการส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจสามารถเติบโตได้ด้วยความเคารพต่อสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืนได้จริงต่อไป
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับสานักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
วัตถุประสงค์ :
เพื่อประสานความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินงานร่วมกันและสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างทั้งสองฝ่าย เพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนามาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ รวมถึงกฎหมายลำดับรอง และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับคณะนิติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สร้างความร่วมมือในลักษณะพัฒนาการจัดการศึกษาให้เป็นตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษา และดำเนินงานวิจัยระหว่าง คณะนิติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- เพื่อกระตุ้นให้เห็นความสำคัญและก่อให้เกิดการพัฒนาการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะนิติศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคลากรทั้ง ๒ หน่วยงาน
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับหน่วยงาน
กระทรวงยุติธรรม สำนักงานศาลปกครอง สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สำนักนายกรัฐมนตรี สถาบันอนุญาโตตุลาการ สถาบันพระปกเกล้า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัตถุประสงค์ :
- สร้างการรับรู้กฎหมายเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน ให้เกิดการยอมรับและเลือกใช้การไกล่เกลี่ยเพื่อยุติหรือระงับข้อพิพาท
- บังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นและการประสานงานเกี่ยวกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
- พัฒนาระบบการเข้าถึงบริการและติดตาม ประเมินผล ผ่านระบบสารสนเทศ
- พัฒนาระบบและมาตรฐานการไกล่เกลี่ยเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเป็นทางเลือกในการระงับข้อพิพาท
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
วัตถุประสงค์ :
เพื่อประสานความร่วมมือระหว่างสำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการดำเนินงานร่วมกันและสนับสนุนการดำเนินงานระหว่างทั้งสองฝ่ายเพื่อเตรียมความพร้อมและพัฒนามาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ๒๕๖๒ รวมถึงกฎหมายลำดับรอง และกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะประกาศใช้ต่อไปในอนาคต
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ :
- เพื่อร่วมมือในการศึกษาวิจัย จัดทำ และพัฒนาหลักสูตรข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น ประเภทนักบริหารงานท้องถิ่นระดับสูง ประเภทนักบริหารงานท้องถิ่นระดับกลาง ประเภทอำนวยการระดับสูงและประเภทวิชาการระดับชำนาญการพิเศษ และหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะการบริหารงานและการปฏิบัติงานด้านกฎหมายสำหรับข้าราชการ หรือพนักงานส่วนท้องถิ่น และบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำแหน่งต่างๆ รวมถึงข้าราชการกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
- เพื่อร่วมมือในการจัดโครงการฝึกอบรม สัมมนา หรือกิจกรรมพัฒนาความรู้ ทักษะและสมรรถนะในการบริหารงาน และการปฏิบัติงานให้กับข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น บุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตำแหน่งต่างๆ รวมถึงข้าราชการกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่หน่วยงานทั้งสองเห็นสมควร
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับสำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
วัตถุประสงค์ :
เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ สามารถพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมในด้านสิทธิมนุษยชน เสริมสร้างองค์ความรู้ให้มีความสมบูรณ์ โดยการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ จากทุกภาคส่วน การดำเนินการตามบันทึกความร่วมมือนี้ สำนักงาน กสม. และคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนซึ่งกัน และกันตามกรอบภารกิจ และอำนาจหน้าที่ของตน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
- ร่วมกันจัดทำหลักสูตรหรือกิจกรรมในด้านการเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจด้านการส่งเสริมสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเสริมสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
- ร่วมสร้างกลไกและการประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานสิทธิมนุษยชนอย่างบูรณาการร่วมกับสำนักงาน กสม.
- ร่วมมือทางวิชาการด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบ สามารถนำองค์ความรู้ด้านสิทธิมนุษยชนไปพัฒนาและประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างคณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ กับหน่วยงาน
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงานกองทุนยุติธรรม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์
วัตถุประสงค์ :
- องค์กรต่างๆ จะร่วมมือกันในการให้คำปรึกษาและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท การจัดให้มีทนายความ และการให้ความช่วยเหลือหรือดำเนินการอื่นใดแก่ประชาชนภายใต้เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ตามกฎหมายว่าด้วยกองทุนยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และกฎหมายว่าด้วยคุ้มครองพยานในคดีอาญา รวมถึงกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการส่งต่อข้อมูลระหว่างองค์กร เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงความยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และเสมอภาค
- องค์กรต่างๆ จะร่วมมือกันเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายแก่ประชาชน
- องค์กรต่างๆ จะร่วมมือกันแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ บุคลากร นิสิต นักศึกษา ระหว่างองค์กร และสนับสนุนงานซึ่งกันและกัน