บรรษัทภิบาลด้านสภาพภูมิอากาศ: หลักการและกรอบการรายงานที่เกี่ยวข้อง

จัดทำโดย
ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ
สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สนับสนุนโดย
บริษัท เอเทนติค คอนซัลติ้ง จำกัด
บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด

โครงการฯ ได้จัดการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อรับฟังความเห็นภายใต้โครงการฯ ในวันที่ 27 ธันวาคม 2567 และเปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะถึงวันที่ 31 มกราคม 2568 โดยโครงการฯ ได้ปรับปรุงร่างให้สอดคล้องและสอดคล้องกับแนวทางในทางปฏิบัติ

โครงการฯ จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาและพัฒนาหลักการและกรอบการรายงานด้านสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ในประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศและเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ประกอบการเป็นการทั่วไปให้ทราบมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่สามารถนำไปใช้ได้จริง นอกจากนี้โครงการฯยังมีเป้าหมายในการส่งเสริมความเข้าใจและสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานกำกับดูแลและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม เพื่อสร้างพื้นฐานที่ดีในการยกระดับมาตรฐานการบรรษัทภิบาลด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศให้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล และเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่เชื่อถือได้สำหรับการศึกษาและการพัฒนาต่อไป

ในโครงการฯ มีการนำเสนอการเปรียบเทียบมาตรฐานการรายงานทั้งด้านบรรษัทภิบาลและประเด็นเฉพาะด้านสภาพภูมิอากาศระหว่างมาตรฐานสากลทั้ง GRI, CDP และ TCFD โดยมีการจัดทำตัวอย่างการรายงานที่สอดคล้องกันในแต่ละมาตรฐานเพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้น และนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสม

ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถาบันคาร์บอนเพื่อความยั่งยืน คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือบรรษัทภิบาลด้านสภาพภูมิอากาศ: หลักการและกรอบการรายงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นต้นแบบและช่วยให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนใช้ประโยชน์ข้อมูลได้อย่างเต็มศักยภาพ และมีส่วนช่วยให้การบรรษัทภิบาลด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศทัดเทียมกับมาตรฐานสากลตามความมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ของโครงการนี้