แนวปฏิบัติเกี่ยวกับมาตรฐานการใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Thailand Artificial Intelligence Guidelines 1.0 – TAIG 1.0) นี้
จัดทำโดยศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยการสนับสนุนบริษัทเอกชนชั้นนำของประเทศที่เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาให้มีองค์ความรู้แก่สาธารณะเพื่อการพัฒนาประเทศทั้งในด้านงานวิชาการและภาคธุรกิจอย่างยั่งยืน อันได้แก่
- บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)
- บริษัท แชนด์เล่อร์ เอ็มเอชเอ็ม จำกัด
- บริษัท แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี จำกัด (มหาชน)
- บริษัท เทิร์นคีย์ คอมมูนิเคชั่น เซอร์วิส จำกัด (มหาชน)
นอกจากนี้ แนวปฏิบัตินี้ยังได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรผู้เชี่ยวชาญในภาคปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการใช้ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้แนวปฏิบัตินี้สะท้อนและเป็นประโยชน์ในการดำเนินงานในทางปฏิบัติให้มากที่สุด
ในขณะที่โครงการฯ ได้ดำเนินงานไประยะเวลาหนึ่ง คณะผู้แต่งก็มีโอกาสได้ร่วมดำเนินโครงการจัดทำระเบียบ มาตรการ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย และระเบียบ มาตรการ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ของประเทศไทย
ผู้แต่งจึงได้นำเสนอหลักการและแนวปฏิบัตินี้เชื่อมโยงไปกับนโยบายและระเบียบมาตรการตามโครงการดังกล่าวตามมาตรฐานสากล
รายชื่อผู้แต่ง
- ผศ.ดร.พีรพัฒ โชคสุวัฒนสกุล
- รศ.ดร.ปิยะบุตร บุญอร่ามเรือง
- รศ.ดร.พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ
- อ.ดร.ชวิน อุ่นภัทร
- อ.ฐิติรัตน์ ทิพย์สัมฤทธิ์กุล
- ดร.เยาวลักษณ์ ชาติบัญชาชัย
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกฎหมายและการพัฒนา คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดตัวแนวปฏิบัตินี้ในงานเปิดตัวโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มภาครัฐ เพื่อรองรับการปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Government Platform for PDPA Compliance : GPPC) โดยผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ บริษัท แชนด์เล่อร์ เอ็มเอชเอ็ม จำกัด เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566