การระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญานอกศาล
ออกอากาศวันที่ 2020-11-11
การระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญานอกศาล
การระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญานอกศาล ไม่มีพิธีการซับซ้อนเหมือนพิจารณาในศาล มีความรวดเร็ว และประหยัด
เมื่อเกิดข้อพิพาทขึ้นคู่กรณีมักจะไปฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ
ซึ่งการนำคดีสู่ศาลนั้น มีข้อเสียคือ มักจะมีความล่าช้าเนื่องจากคู่กรณีต้องหาวันและเวลาว่างให้ตรงกัน
อีกทั้งจำเป็นต้องมีทนายความเข้ามาช่วยดูแลและจัดการคดี ซึ่งค่าทนายความทั้งสองฝั่งนั้นมีราคาค่อนข้างสูง
กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงได้จัดตั้ง สำนักป้องกันและระงับทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีหน้าที่ไกล่เกลี่ยคดีข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยข้อพิพาทที่นำเข้าสู่การระงับข้อพิพาท ได้แก่ ข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท เช่น สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และชื่อทางการค้า เป็นต้น
ลักษณะการใช้บริการมี 2 ทางเลือก คือ
1. ให้ทางสำนักงานทำการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
2. ตั้งอนุญาโตตุลาการ ให้เป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ซึ่งกระบวนการนี้จะลดความซับซ้อนและพิธีการในการตัดสินโดยศาล มีค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่า และสามารถเลือกได้ว่าจะให้ใครมาเป็นอนุญาโตตุลาการ หรือเป็นคนกลางในการไกล่เกลี่ย ทำให้การพิจารณาทำได้รวดเร็ว และเป็นธรรมแก่คู่พิพาท
__________
รายการนิติมิติ
ผู้ดำเนินรายการ: นัจนันท์ พฤกษ์ไพบูลย์
วิทยากร: รศ.อรพรรณ พนัสพัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์กฎหมายเพื่อประชาชน คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย