ตำแหน่งที่ตั้ง

คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่ อาคารเทพทวาราวดี ซอยจุฬาฯ 42 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330 (ใกล้กับคณะนิเทศศาสตร์และโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม)

การเดินทาง

  • การเดินทางโดยรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS)
  • การเดินทางโดยรถไฟฟ้ามหานคร (MRT)
  • การเดินทางโดยรถโดยสารประจำทาง ขสมก.
  • รถยนต์ส่วนตัว

มหาวิทยาลัยสีเขียว

มหาวิทยาลัยสีเขียวเป็นนโยบายที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับโดย UI Green Metric World University Ranking ใน พ.ศ. 2558 ให้เป็นมหาวิทยาลัยสีเขียวอันดับ 1 ของมหาวิทยาลัยในไทย ติดต่อกันสองปี ในระดับโลก จุฬาฯ ได้รับการจัดอันดับให้เป็นที่ 30 ของโลก และเป็นอันดับที่ 4 ของโลกในประเภทมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง (City Center University) จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยไทยแห่งเดียวที่ติดอยู่ใน 30 อันดับแรกของโลก

CU Zero Waste

โครงการ Chula Zero Waste เป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาฯ สำนักบริหารระบบกายภาพ จุฬาฯ และเครือข่ายคณาจารย์และนิสิตที่สนใจ มีจุดประสงค์เพื่อลดปริมาณขยะภายในมหาวิทยาลัยให้เป็นศูนย์ เป็นหนึ่งโครงการดีๆของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อตอกย้ำความมุ่งมั่นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยแห่งความยั่งยืน ต่อยอดมหาวิทยาลัยสีเขียว เน้นการลงมือปฏิบัติอย่างมีส่วนร่วมกับชาวจุฬาฯ โดยมีเป้าหมายสู่การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

CU Toyota Ha:mo

เริ่มต้นแล้วที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกในเมืองไทย ทางเลือกใหม่ในการเดินทางของคนกรุงเทพฯ รองรับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคมเมือง ควบคู่ไปกับการเติบโตของสังคมที่ยั่งยืน

CU Bike

จักรยานสำหรับใช้ร่วมกันในพื้นที่มหาวิทยาลัยเพื่อลดการใช้รถยนต์

CU Bike เป็นส่วนหนึ่งของโครงการการลดการใช้รถยนต์ภายในมหาวิทยาลัยเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของรถยนต์ซึ่งทำให้เกิดภาวะโลกร้อน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับโครงการ “ปั่น-ปั่น” โดยทำระบบการเช่าจักรยานสำหรับใช้ร่วมกันในพื้นที่มหาวิทยาลัย จำนวนกว่า 100 คัน ซึ่งกระจายสถานีจอดจักรยาน 5 สถานี (4 สถานีภายในมหาวิทยาลัย และ 1 สถานีที่สยามสแควร์)

CU Shuttle Bus

เริ่มต้นแล้วที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยการแบ่งปันรถกันใช้ด้วยยานยนต์ไฟฟ้าแห่งแรกในเมืองไทย ทางเลือกใหม่ในการเดินทางของคนกรุงเทพฯ รองรับการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคมเมือง ควบคู่ไปกับการเติบโตของสังคมที่ยั่งยืน

จำนวนนิสิต

ระดับปริญญาบัณฑิต

แบ่งเป็น

  • หลักสูตร น.บ. จำนวน 1,105 คน
  • หลักสูตร น.บ. (ภาคบัณฑิต) จำนวน 338 คน

ระดับบัณฑิตศึกษา

แบ่งเป็น

  • หลักสูตร น.ม. จำนวน 263 คน
  • หลักสูตร น.ม. (การเงิน/ภาษีอากร) จำนวน 109 คน
  • หลักสูตร ศศ.ม. (กฎหมายเศรษฐกิจ) จำนวน 64 คน
  • หลักสูตร LL.M. (International Program) จำนวน 8 คน
  • หลักสูตร น.ด. จำนวน 18 คน

ข้อมูล ณ ปีการศึกษา 2564

จำนวนคณาจารย์

คณาจารย์ประจำ

ลาศึกษาต่อ

จำนวนนิสิตเก่า

ข้อมูลจากปีการศึกษา 2520 – 2563

พื้นที่และอาคารที่ทำการ

อาคารเทพทวาราวดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอาคารเรียนและสำนักงานของคณะนิติศาสตร์ (ตั้งอยู่ใกล้กับคณะนิเทศศาสตร์และโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม) มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 15,237 ตารางเมตร  เป็นอาคารที่มีความสูง 13 ชั้น ประกอบด้วยหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้

  • ชั้น 1 สำนักงานสำนักงานหลักสูตรระดับปริญญาตรี งานกิจการนิสิต และ พื้นที่ Law Chula Learning Space
  • ชั้น 2 ศูนย์ “เพชรัตน์” นิติทรัพยากร (ห้องสมุด)
  • ชั้น 3 สำนักงานฝ่ายบริหาร
  • ชั้น 4 สำนักงานคณบดี
  • ชั้น 7 สำนักงานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาและวิรัชกิจ
  • ชั้น 8 สำนักงานศูนย์กฎหมายเพื่อประชาชน และสำนักงานบริการวิชาการและวิจัย