ความเป็นมา
การศึกษากฎหมายที่ดีนั้น นอกจากจะต้องมีความรู้และความแม่นยำในตัวบทกฎหมายแล้วผู้ศึกษากฎหมายยังจำเป็นที่จะต้องมีความสามารถในการจับประเด็นและควรเรียนรู้ถึงปัญหาสังคมที่มีความเกี่ยวข้องกับการมีหรือไม่มีกฎหมายบังคับใช้อีกด้วย ชมรมนิติสังคมปริทรรศน์จึงได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นหนึ่งในกลไกที่จะสร้างวิธีการเรียนรู้ในเรื่องดังกล่าวผ่านการลงพื้นที่จริงเพื่อทำการเก็บข้อมูลและนำข้อมูลที่รวบรวมได้เหล่านั้นมาผ่านกระบวนการคิดเชิงนักออกแบบเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขประเด็นปัญหาที่พบได้ต่อไป นอกจากนี้ชมรมนิติสังคมปริทรรศน์ยังมีความตั้งใจที่จะเป็นกลไกหนึ่งในการช่วยปลูกฝังให้นิสิตผู้ศึกษากฎหมายได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการนำความรู้กฎหมายมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมผ่านการสอดแทรกลงไปเป็นหนึ่งในรูปแบบของกิจกรรมต่าง ๆ อีกด้วย
วัตถุประสงค์
- พัฒนาทักษะในด้านต่าง ๆ ของนิสิต ไม่ว่าจะเป็นทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านการลงพื้นที่สัมภาษณ์ ทักษะการคิดวิเคราะห์ถึงประเด็นปัญหาในสังคมที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคมที่เกิดจากการมีหรือไม่มีกฎหมายบังคับใช้หรือปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริงในสังคม ทักษะการอภิปรายประเด็นปัญหา ทักษะการคิดอย่างสร้างสรรค์ ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น และรวมไปถึงการปลูกฝังให้นิสิตได้ตระหนักถึงการใช้ความรู้กฎหมายเพื่อทำประโยชน์ให้กับสังคม
พันธกิจ
ส่งเสริมนิสิตให้มีทักษะต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของชมรมฯ และเสริมสร้างให้นิสิตฯ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่จัดขึ้น
สมาชิกชมรม
- คณะกรรมการชมรม จำนวน 16 คน
- สมาชิกชมรม จำนวน 307 คน
กิจกรรมที่เคยจัดมา
- โครงการพบปะชุมชนบ้านครัวเหนือ เป็นโครงการนำร่องเพื่อให้นิสิตฯ ได้ฝึกทักษะการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลต่าง ๆ และนำมาวิเคราะห์โดยให้เชื่อมโยงกับประเด็นกฎหมาย
- โครงการ Legal Design Thinking ครั้งที่ 1 เป็นโครงการเพื่อให้นิสิตได้ฝึกใช้เครื่องมือในการคิดวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดและเป็นรูปธรรม
- โครงการ Legal Design Thinking ครั้งที่ 2 เป็นโครงการเพื่อให้นิสิตได้ฝึกใช้เครื่องมือในการคิดวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดและเป็นรูปธรรม
- โครงการสัมผัสชีวิตหลังกำแพง เป็นโครงการที่นำทั้งทักษะของการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและขั้นตอน Design Thinking มาใช้ร่วมกันเพื่อนำความรู้กฎหมายและความสามารถในฐานะนิสิตกฎหมายมาใช้เพื่อก่อประโยชน์ให้แก่สังคม โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือผู้ต้องขังหญิงและเจ้าหน้าที่ในเรือนจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา